วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

โปรแกรมตัดต่อวิดีโอ 9 อันดับ ที่เป็นของฟรี

1. Windows Movie Maker

Windows Movie Maker เป็นโปรแกรมทำวีดีโอที่ง่ายมาก แค่เพียงลากวางวีดีโอลงในโปรแกรมหลังจากนั้นก็ทำการตัดต่อตามต้องการ ความสามารถอีกอย่างหนึ่งของโปรแกรมนี้คือใช้โปรแกรม Windows Movie Maker สร้างสไลด์โชว์ เอาเพลงมาประกอบ

2. Lightworks


Lightworks เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมตัดต่อวีดีโอที่ดี มีการสนับสนุการทำงานที่ มี effects และ smart trimming tools โปรแกรมนี้เป็นที่นิยมมากให้การตัดต่อหนังเลยที่เดียว

3. Kate’s Video Toolkit

Kate’s Video Toolkit เป็นโปรแกรมตัดต่อวิดีโอ ที่มีความสามารถหลายหลาย ไม่ว่าจะเป็นตัดไฟล์ ประกอบ 2 ไฟล์วีดีโอต่อกัน มีลูกเล่นเปลี่ยนฉากเวลาเริ่มวีดีโอใหม่ กำหนดลำดับของวีดีโอกับเสียง

4. Avidemux


Avidemux เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอขนานเล็ก และเป็นโปรแกรม open source โดยโปรแกรมนี้มีสามารถตัด หมุน ปรับขนาด ลบเสียงรบกวน ปรับสี และอื่นๆ

5. VSDC Free Video Editor

VSDC Free Video Editor โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้ต้องใช้เวลาศึกษาอ่านคู่มือหน่อย เป็นขั้นตอนการทำงานอาจเข้าใจอยาก แต่โปรแกรมนี้ก็มีจุดเด่อ คือ มีตัวช่วย filters, เอฟเฟคเปลี่ยนฉาก (transitions),เสียงเอฟเฟค (audio effects) เป็นต้น

6. MPEG Streamclip


MPEG Streamclip โปรแกรมนี้สามารถเปิดไฟล์ DVD หรือเปิด URLs ของ video streams ได้ ความสามารถของโปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้ เช่น การทริม (trim) การ cut การ copy or paste และ export the soundtrack เป็นต้น

7. VirtualDub

VirtualDub โปรแกรมตัดต่อวีดีโอนี้สามารถทำงานได้กับไฟล์ AVI ด้วยอินเตอร์เฟซที่เรียบงายและชัดเจน จะช่วยให้เลื่อนและตัดคลิปได้อย่างง่ายได้ ความสามารถของโปรแกรมก็มี ปรับคมชัด, เบลอ, ปรับขนาด, หมุนความสว่างสีและความคมชัดปรับแต่ง – และมีปลั๊กตัวเลือกเพิ่มให้ได้ใช้อีกด้วย

8. Free Video Dub

Free Video Dub ก็เป็นโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ มีลูกเล่นคล้ายกับโปรแกรมที่ผ่านมา อย่างไงทดลองโหลดมาทดสอบดู เป็นโปรแกรมตามความชอบส่วนบุคล

9. Freemake Video Converter

Freemake Video Converter เป็นอีกหนึ่งโปรแกรมตัดต่อวีดีโอ มีฟังชั่น


ที่มา : http://www.ineedtoknow.org/

ตัดต่อวีดีโอให้เป็นภายใน 5 นาที สำหรับ Youtube


การสร้างไฟล์วิดีโอแบบต่างๆ ด้วย Nero Vision

     การสร้างไฟล์วิดีโอในโปรแกรมนี้จะเป็นการนำไฟล์วิดีโอที่มีอยู่มาตัดต่อ แล้วบันทึกเป็นไฟล์ ใหม่ มีลูกเล่น เพิ่มตัวหนังสือ เอฟเฟ็คต์ให้ดูน่าสนใจได้
ส่วนประกอบต่างๆ ในหน้าจอ
1.   Make DVD เป็นการสร้างวิดีโอ เพื่อเขียนลงบนแผ่นดีวีดี มีสองแบบ
DVD-Video เป็นการสร้างแผ่นดีวีดีวิดีโอ
Editable DVD เป็นการสร้างแผ่นดีวีดีวิดีโอ แต่จะเขียนลงบนแผ่น DVD-RW ที่สามารถลบ และเขียนซ้ำได้ จึงสามารถแก้ไขข้อมูลในแผ่นได้
2.   Make CD เป็นการสร้างวิดีโอ เพื่อเขียนลงบนแผ่นซีดี
Video CD เป็นการสร้างแผ่นหนังวีซีดี ที่เห็นกันทั่วๆ ไป
Super Video CD เป็นการสร้างแผ่นหนังซูเปอร์วีซีดี ภาพจะมีความละเอียดสูงกว่า VCD
miniDVD เป็นการสร้างวิดีโอที่มีโครงสร้างแผ่นคล้ายแผ่นดีวีดี แต่เขียนลงแผ่นซีดี ภาพจะ มีความคมชัดสูง เหมาะสำหรับภาพวิดีโอที่ไม่ยาวนัก ขนาดไม่เกินความจุของแผ่นซีดีหรือประมาณ 700 MB ซึ่งถ้าเขียนลงแผ่นดีวีดี ก็จะไม่เหมาะสมนัก เพราะจะยังมีพื้นที่ว่างในแผ่นดีวีดีอีกมาก เขียนลง บนแผ่นซีดี จะดีกว่า ราคาก็ถูกกว่าด้วย แต่ได้คุณสมบัติคล้ายแผ่นดีวีดี
3.   Record Directly to DVD เป็นการบันทึกข้อมูลลงแผ่นดีวีดีแบบเรียลไทม์ บันทึกโดยตรง จากกล้องหรือการ์ดตัดต่อวิดีโอลงแผ่นทันที
4.   Make Movie คำสั่งสำหรับสร้างวิดีโอในแบบฉบับของตนเอง
5.   Make Slide Show คำสั่งสำหรับการนำรูปภาพ ไปสร้างสไลด์โชว์ ใส่เสียงเพลงประกอบ ได้ เหมาะสำหรับนำเสนอสินค้า งานแต่งแนะนำเจ้าบ่าวเจ้าสาว เป็นต้น
DVD-Video ต้องการวีดีโอคุณภาพค่อนข้างสูงและรูปภาพมีมาก เกิน 700 MB ก็เลือกแบบนี้
Video CD สำหรับการสร้างสไลด์โชว์เพื่อเขียนลงแผ่นซีดี ภาพคมชัดน้อยที่สุด
Super Video CD สำหรับการสร้างสไลด์โชว์เพื่อเขียนลงแผ่นซีดี ภาพคมชัดมากกว่า VCD
miniDVD คล้าย DVD-Video ภาพคมชัด แต่เหมาะสำหรับงานที่มีขนาดไม่เกิน 700 MB
6.   Capture Video to Hard Drive เป็นการจับภาพวิดีโอจากกล้องเว็บแคมหรือกล้องถ่าย วิดีโอ การ์ดวิดีโอ แล้วบันทึกเป็นไฟล์วิดีโอไว้ในเครื่อง ต้องมีอุปกรณ์ไว้จับภาพ ไม่เช่นนั้นก็ไม่ได้ ที่ ทำได้ง่ายๆ ก็ใช้กล้องเว็บแคม ง่ายดี แต่ภาพไม่คมชัด
7.   Open Saved Project or Disc Image เป็นการเปิดดูไฟล์งานตัดต่อหรือสร้างวิดีโอหรือ อิมเมจไฟล์ที่เคยสร้างไว้ เพื่อเปิดขึ้นมาแก้ไขหรือเขียนลงแผ่นอีกครั้ง

ความสามารถของโปรแกรมนี้
การจับภาพวิดีโอ
Capture เป็นการแคบเจอร์วิดีโอ โดยในเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องมีอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆ เช่น
1. Web Camera เป็นกล้องเว็บแคมธรรมดานั่นเอง ก็ใช้เป็นอุปกรณ์จับภาพทำเป็นวิดีโอได้ แต่คุณภาพความคมชัดจะน้อยมาก ใช้กล้องดิจิตอลจะดีกว่า
2. กล้องถ่ายวิดีโอ ราคาค่อนข้างแพง แต่คุณภาพความคมชัดก็ดีกว่า
3. การ์ดตัดต่อวิดีโอ จะช่วยให้เรานำภาพจากเครื่องเล่น VCD/DVD เข้ามาตัดต่อได้

การรวบรวมวิดีโอไว้ด้วยกัน
     อาจเป็นการก็อปปี้ไฟล์วิดีโอที่มีอยู่ วิดีโอคาราโอเกะ หนังจากแผ่นวีซีดี รวบรวมมาแล้วเขียน ลงแผ่นซีดีหรือแผ่นดีวีดี แล้วแต่ขนาดของข้อมูล ถ้าไม่มากเกิน 700 MB ก็เขียนลงแผ่นซีดี ถ้าเกิน ไปกว่านั้น ก็เขียนลงแผ่นดีวีดี หรือต้องการคุณภาพความคมชัดสูงก็เขียนเป็นดีวีดี

ความสามารถในการตัดต่อวิดีโอ
     เป็นการนำไฟล์วิดีโอที่มีอยู่ มาตัดต่อใหม่ พร้อมใส่ลูกเล่นต่างๆ เข้าไปได้ เช่นข้อความ ภาพ เบลอ ฯลฯ จากนั้นก็บันทึกเป็นวิดีโอไฟล์ใหม่ จะเขียนลงแผ่นซีดีหรือดีวีดีก็ได้
ความสามารถในการสร้างสไลด์โชว์
เป็นการนำภาพที่มีอยู่มาสร้างเป็นสไลด์โชว์ ใส่เสียงเพลงประกอบได้ แล้วก็บันทึกเป็นไฟล์วิดีโอ ก่อนจะเขียนลงแผ่นซีดีหรือดีวีดีก็ได้
ที่มา : http://www.siamebook.com/

โรคภัยของสังคมก้มหน้า

ที่มาของโรคภัยสังคมก้มหน้า
     สังคมก้มหน้า หรือ เท็กซ์เนค เป็นคำที่ นายแพทย์ดีนฟิชแมนซึ่งเป็นแพทย์กายภาพบำบัดผู้เชี่ยวชาญด้านบำบัดอาการของกระดูกสันหลังชาวอเมริกัน ได้มีการคิดขึ้นชื่อนี้ขึ้นมา สำหรับเรียกกลุ่มอาการของโรคที่เกิดขึ้นจาก การที่คนเราก้มหน้าบ่อยๆ และซ้ำๆ จนนานเกินปกตินี้ จะทำให้เกิดอาการต่างๆขึ้น ไม่ว่าจะเป็นการปวดกล้ามเนื้อบริเวณไหล่ หรือกล้ามเนื้อคอ และปวดศีรษะเรื้อรัง ปวดทุกวัน หากอาการหนักก็อาจพาลไปถึงเกิดการอักเสบของข้อต่อกระดูกสันหลังส่วนบน เรียกได้ว่าอาการสาหัสเลยทีเดียวโรคจากภัยสังคมก้มหน้า ส่งผลต่อบุคลิก
     โรคภัยสังคมก้มหน้า คือการก้มหน้าในลักษณะนี้บ่อยๆ อย่างนานๆ ซึ่งจะส่งผลต่อบุคลิกท่าทาง และการเจริญเติบโตของร่างกายในเด็กและวัยรุ่น ที่ทำให้ออกมาบิดเบี้ยวโค้งงอจนต้องรีบหาทางแก้กันอย่างยุ่งยากในภายหลัง ซึ่งที่มาของโรคนี้ สาเหตุมาจากการก้มหน้าบ่อยๆ แพทย์บอกว่าเพียงแค่การก้มศีรษะลงไปข้างหน้า ซึ่งถือเป็นท่าที่ผิดปกติตามธรรมชาติ เพียงแค่นิ้วเดียว น้ำหนักของศีรษะก็จะมีส่วนทำให้ กล้ามเนื้อ กระดูกเอ็น รวมถึงเส้นประสาทในบริเวณไหล่ คอ จะต้องแบกรับภาระหนักเพิ่มขึ้นมากแล้ว ด้วยน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจากการถ่วงไปข้างหน้า เพื่อที่จะทำการไปดึงรั้งกล้ามเนื้อเส้นเอ็นทั้งหมดให้ต้องแบกรับภาระมากขึ้นตามไปด้วย ทำให้เกิดอาการตึงๆ ยิ่งหากเกิดขึ้นบ่อยๆ เพราะเป็นการก้มหน้าและทำซ้ำๆ หลายๆ ครั้งก็จะเกิดการบาดเจ็บขึ้นได้ทั้งกับกล้ามเนื้อ เอ็น หรือเส้นประสาทในบริเวณดังกล่าวได้
ภัยจากโรคสังคมก้มหน้าทำให้กระดูกผิดปกติ
     ผู้ที่ประสบปัญหาโรคจากสังคมก้มหน้า จะทำให้กระดูกสองสามชิ้นที่อยู่บริเวณข้อต่อกระดูกสันหลัง ที่เป็นส่วนบนโค้งงอไปด้านหน้าเป็นแบบผิดธรรมชาติ เพราะเฉลี่ยแล้วศีรษะของมนุษย์หนักประมาณ 5 กิโลกรัม ซึ่งหากมีการก้มไปข้างหน้าทุกๆ 2 เซนติเมตร จะทำให้ไหล่ของคุณจะต้องแบกรับน้ำหนักมากขึ้น 100 เปอร์เซ็นต์ หากก้มลงไป 6 เซนติเมตร น้ำหนักของศีรษะที่ คอ ไหล่ และกระดูกสันหลัง จะต้องรองรับน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นเป็น 20 กิโลกรัม มันคือเหตุผลที่ว่าทำไมการก้มนานๆ ซ้ำๆ อยู่ทั้งวัน จึงก่อให้เกิดอาการได้มากมายขนาดนั้น
การป้องกันจากโรคภัยสังคมก้มหน้า
     คำแนะนำของแพทย์สำหรับโรคสังคมก้มหน้าเพื่อการป้องกันไม่ให้คุณได้ตกเป็นเหยื่อของเท็กซ์เนคอย่างง่ายๆ สามารถทำได้โดยการ ละสายตาจากจอ เปลี่ยนท่าจากการก้มหน้า ให้เป็นการปล่อยให้ศีรษะกลับคืนสู่ท่าธรรมชาติในทุกๆ 15 นาทีและค่อยๆเงยหน้าขึ้น เหลียวไปรอบๆ หากยังจำเป็นต้องจ้องจออยู่ก็ ลองยกมันให้ขึ้นมาอยู่ในระดับสายตา เพื่อช่วยในการลดการแบกรับน้ำหนักของคอลงเป็นระยะๆโรคภัยสังคมก้มหน้า กับการออกกำลังกาย
     ถ้าเป็นไปได้หากคุณมีความจำเป็นที่จะต้องก้มหน้าก้มตาอยู่ตลอดเวลา กับการทำกิจกรรมต่างๆ บนโลกออนไลน์ ก็ควรจะหันไปออกกำลังกาย ในท่าที่สามารถที่จะช่วยทำให้กล้ามเนื้อบริเวณคอและไหล่ได้มีการผ่อนคลาย ซึ่งอาจจะหันมาเล่นโยคะเย็น หรือโยคะร้อนก็ได้ หรือจะเป็นกายบริหารแบบพิลาทีสที่เป็นการมุ่งเน้นไปที่การฝึกทำให้ร่างกายของเราอยู่ในท่าทางที่ถูกต้อง ซึ่งการออกกำลังกายแบบนี้สามารถทำให้ได้ทุกวันจะป้องกันปัญหาเหล่านี้ได้ เพราะร่างกายมีความเคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา โดยการใช้ทุกส่วนให้สัมพันธ์กัน



     ใครที่ใช้วิธีเหล่านี้แล้วยังไม่ได้ผล แสดงว่าเท็กซ์เนค หรือโรคภัยสังคมก้มหน้าของคุณค่อนข้างไปทางรุนแรงแล้ว ควรไปพบแพทย์เพราะอย่างน้อยๆ ก็อาจต้องใช้ยาจำพวกที่จะช่วยคลายกล้ามเนื้อช่วย แต่หากอาการดังกล่าวเกิดไปกระทบทำให้กลุ่มประสาทในบริเวณต่างๆ ถูกบีบและถูกกดอยู่นานๆ จนทำให้เกิดอาการปวดประสาท ซึ่งก็จัดอยู่ในขั้นต้องให้แพทย์ที่เชี่ยวชาญดูแลเป็นการเฉพาะจะดีที่สุด แล้วก็ต้องลดการกระทำที่เป็นส่วนหนึ่งของสังคมก้มหน้า เพื่อให้เหลือน้อยที่สุด
     ไม่มีใครห้ามที่จะไม่ให้คุณเล่นอยู่แต่กับจอสี่เหลี่ยมด้วยการก้มหน้า เพราะนั่นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานของคุณ หากแต่คิดว่า มันมีความจำเป็นแล้ว การที่รู้จักป้องกันตัวเองตั้งแต่เนิ่นๆ ก็อาจจะช่วยให้คุณอยู่ห่างจากโรคภัยสังคมก้มหน้าได้อย่างปลอดภัยต่อไป โดยที่ไม่เสียสุขภาพและยังสามารถก้มหน้าก้มตาทำงานต่อไปได้
ที่มา : http://sukkaphap-d.com/

หาคำตอบแก้ปัญหาสังคมก้มหน้า

     สังคมก้มหน้ากำลังระบาดไปทั่วโลกเลยว่าไหมคะสังเกตเห็นได้ชัดเลยว่าคนสมัยนี้ไม่ว่าจะขึ้นรถนั่งกินอาหาร เดินตามท้องถนน หรือแม้แต่คุยกับเพื่อนที่นั่งอยู่ข้างกันแท้ๆ ก็ยังคุยผ่านหน้าจอสี่เหลี่ยม และกิจกรรมยอดฮิตของเด็กๆ วัยเรียน วัยรุ่นชาวออนไลน์ก็คือ การถ่ายรูปสารพัดสิ่งอัพลงเฟซ หรืออินสตาแกรม แล้วรอให้คนมากดไลค์นั่นเอง ซึ่งพฤติกรรมเช่นนี้ ทำให้หลายๆ คน มีปัญหาสุขภาพจิตตามมาอย่างคาดไม่ถึงเหมือนกัน
     ผลการศึกษาผลกระทบของอินเตอร์เน็ตต่อสุขภาพกาย และสุขภาพจิตของเด็กและเยาวชนไทย ชี้ชัดว่าเด็กและเยาวชนใช้อินเตอร์เน็ตเพื่อการบันเทิงมากที่สุด ขณะที่ผลกระทบด้านสังคม ไม่ค่อยรู้เรื่องภายนอก ไม่คุยกับคนรอบข้าง ซึมเศร้าอยู่แต่ในโลกความฝันของตัวเอง จากกรณีศึกษากรุงเทพมหานคร ร่วมกับสำนักทดสอบทางการศึกษาและจิตวิทยา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ โดยศึกษาพฤติกรรมการรับข้อมูลข่าวสารทางอินเตอร์เน็ตของเด็ก และเยาวชนทั้งด้านการศึกษา ด้านบันเทิง ด้านลบ และด้านธุระ/ซื้อขาย รวมถึงความสัมพันธ์ของผล ต่อสุขภาพกายและสุขภาพจิต กับกลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวน 1,584 คน ทำให้ทราบว่า
     สุขภาพจิตในทางบวก
ของเด็กและเยาวชนมากที่สุด ได้แก่ ทำให้มีเพื่อนใหม่เพิ่มขึ้น เข้าใจและพอใจกับชีวิตของตนเอง มีความสุขกับสิ่งที่ทำแต่ละวัน สามารถจัดการปัญหาต่างๆ ให้สำเร็จ มีความมุ่งมั่นในการทำภารกิจต่างๆ รู้สึกสนุก เพลิดเพลินใจ

    สุขภาพกายในทางลบ
ได้แก่ ทำให้อ่อนล้าสายตา สายตาสั้นลง ตาลาย เมื่อยแขน ปวดศีรษะ มึนศีรษะ ปวดก้นกบ หลัง ไหล่ กล้ามเนื้อมือและนิ้ว ร่างกายเมื่อยล้า อ่อนเพลีย ลืมเวลากินอาหารจนปวดท้อง เพลิน จนไม่ได้เข้าห้องน้ำ ทำให้มีผล ต่อระบบขับถ่าย
     สุขภาพจิตในทางลบ
ได้แก่ ทำให้รู้สึกเศร้าโดยไม่ทราบสาเหตุ ไม่สามารถควบคุมสภาพจิตใจตนเองได้ หงุดหงิดกังวลใจกับเรื่องเล็กน้อย ทำงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายเสร็จไม่ทัน ความสัมพันธ์กับคนรอบข้างลดลง เบื่อหน่ายท้อแท้ กับการดำเนินชีวิต รวมไปถึงพฤติกรรม ที่กำลังเป็นที่พูดถึงกันอยู่ในขณะนี้คือ เซลฟี่ ขี้อิจฉา ซึมเศร้า
     เซลฟี ขี้อิจฉา ซึมเศร้าเซลฟี สามารถกัดกร่อนความมั่นใจ ความภาคภูมิใจในตัวเองได้ หากถ่ายรูปตัวเองเผยแพร่บนโลกออนไลน์เป็นบางโอกาส ถือเป็นการมีส่วนร่วมในสังคมออนไลน์ แต่หากมากไปและคาดหวังจดจ่อว่าจะมีใครเข้าดู เข้ามาแสดงความคิดเห็น แสดงว่าเซลฟีกำลังสร้างปัญหาและเป็นสัญญาณหนึ่งบอกถึงการขาดความมั่นใจในตัวเอง

     


     สุดท้ายผู้ใหญ่ควรดูแลแนะนำเรื่องเนื้อหาที่เหมาะสมบนโลกอินเตอร์เน็ตให้กับลูกๆ ให้รู้เนื้อหาไหนดีไม่ดี ควรและไม่ควรทำและต้องเรียนรู้ปรับเข้าหากิจกรรมทางสังคมออนไลน์กับลูกๆ เพื่อเรียนรู้พฤติกรรมและชี้นำคอยตักเตือนลูกๆ ด้วยไม่ให้ลูกหลงผิดจากโลกออนไลน์ ส่วนเด็กๆ วัยรุ่น ก็ควรแบ่งเวลาในการใช้อินเตอร์เน็ต สลับกับพบกับเพื่อนบนโลกแห่งความเป็นจริง รวมทั้งแบ่งเวลาให้กับการอ่านหนังสือการทบทวนเนื้อหาตำราด้วย ทั้งในหนังสือและเนื้อหาบนโลกอินเตอร์เน็ต วิธีนี้จะช่วยให้ผลการศึกษาที่ดีต่อลูกได้ด้วย

ที่มา : สำนักข่าวไทย / ผู้จัดการออนไลน์ / ฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยี สถาบันราชานุกูล กรมสุขภาพจิต

ก้าวเดินของห้องสมุด ในยุค “สังคมก้มหน้า″

     

     “สังคมก้มหน้า” ในโลกออนไลน์เป็นศัพท์ที่คุ้นหูกับทุกคนเป็นอย่างดี และปฏิเสธไม่ได้ว่ามีทั้งผลดีและผลเสียกับพฤติกรรมในสังคมโดยอัตโนมัติเช่นเดียวกัน กล่าวคือ พฤติกรรมของคนในสังคมที่มีความหมกมุ่นอยู่กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต และคอมพิวเตอร์ เป็นต้น เทคโนโลยีเหล่านี้สามารถใช้ประโยชน์ให้กับเราได้ดี เช่น ใช้ทำงาน สืบค้นข้อมูล โทรศัพท์ กล้องถ่ายรูป เป็นอุปกรณ์สื่อสารที่ส่งได้ทั้งภาพและเสียงแบบปัจจุบันทันที ประเภทของผู้ที่ใช้งานมีทุกเพศทุกวัย แต่ส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่นและหนุ่มสาวที่มีความชำนาญและเชี่ยวชาญในการใช้โปรแกรมและอุปกรณ์ต่าง ๆ ดังกล่าวเสมือนเกิดมาเพื่อสิ่งนี้
     เมื่อคนกลุ่มนี้มาใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ในห้องสมุดซึ่งเป็นแบบเดียวกันหรือแนวเดียวกัน ก็จะสามารถเข้าใจและใช้งานอุปกรณ์นั้นได้อย่างรวดเร็ว ห้องสมุดในยุค “สังคมก้มหน้า” จึงจำเป็นต้องปรับการบริการให้ทันยุคสมัย กล่าวคือ ต้องมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการเข้าถึงอุปกรณ์การสื่อสารประเภทสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต ซึ่งคนที่อยู่ในวัยศึกษาและวัยเรียนส่วนใหญ่นิยมใช้กัน อย่างเช่น การจัดทำแอพของห้องสมุด การปรับหน้าจอผลการสืบค้นให้เหมาะสมในการใช้งานกับอุปกรณ์ดังกล่าว
     อย่างไรก็ตามอุปกรณ์ต่าง ๆ เหล่านี้เมื่อใช้ต่อเนื่องกันนานๆ จะส่งผลกระทบทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต ทำให้ผู้ใช้มีพฤติกรรมที่แข็งกระด้าง ไม่ใส่ใจผู้คนหรือสิ่งรอบข้าง ใจร้อน ไม่มีความอดทนอดกลั้น คาดหวังผลที่ต้องการอย่างรวดเร็ว อารมณ์หงุดหงิดง่ายเมื่อไม่ได้ดังใจ จะขาดสติ ขาดความรู้ตัว ด้วยสาเหตุต่างๆ ดังกล่าวมานี้อาจส่งผลให้มีความไม่พึงพอใจในการใช้บริการโดยตัวบุคคลผู้ให้บริการมากขึ้นได้  ดังนั้นห้องสมุดนอกจากจะพัฒนาบุคลากรให้เรียนรู้ในวิชาชีพบรรณารักษ์แล้ว ยังจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีมาผสมผสานกับการบริการของห้องสมุด นัยหนึ่งเป็นการพัฒนาห้องสมุด แต่อีกนัยหนึ่งก็เพื่อลดแรงปะทะระหว่างผู้ใช้กับผู้ให้บริการที่อาจเกิดขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้ผู้ใช้อาจไม่เห็นความสำคัญของห้องสมุดอีกต่อไป
     ห้องสมุดในปัจจุบันแต่ละสถาบันจึงหาข้อดีของยุค “สังคมก้มหน้า” นี้ มาประยุกต์และนำมาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อวงการห้องสมุด
ที่มา : http://chongasem38.blogspot.com/

สาเหตุทำให้เกิดสังคมก้มหน้า

     สังคมก้มหน้าในปัจจุบัน ถูกนิยามว่าอาจเป็นสังคมที่ต่างคนต่างเล่นโทรศัพท์มือถือของตัวเอง จนไม่สนใจอะไรรอบข้าง

     คิดว่าสาเหตุ คือ เราเห็นว่าเครื่องมือเหล่านี้ทำให้เราสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างง่ายขึ้น ทำให้เราได้รับข้อมูลอะไรบางอย่างได้ง่ายขึ้น สะดวกขึ้น เราก็เลยใช้ แต่ปัญหา คือ ใช้แล้วเสพติดจนลืมการพูดคุยกับคนในชีวิตจริงไป สิ่งนี้คือปัญหา สาเหตุก็มาจากความสะดวกสบาย



แนวโน้มจะแย่ลงหรือจะดีขึ้น

     แย่ลงแน่ๆ มันจะเป็นสังคมก้มหน้าแบบนี้ต่อไปแล้วมีความเข้มข้นมากขึ้น คนก็จะก้มหนักขึ้นต่อไป

ควรจะแก้อย่างไร

     คือมันต้องแก้ที่สาเหตุ ต้นเหตุก็คือ เราสะดวกสบาย ได้รับอะไรที่มันรวดเร็วทันใจ เราพิมพ์ massage (ข้อความขนาดสั้น)  นิดนึง ก็ตอบกลับมาแล้ว  search (ค้นหา) อะไรนิดนึงก็ตอบกลับมาแล้ว  เราอยากฟังเพลงเราก็ฟังในสมาร์ทโฟน เราทำทุกอย่างในสมาร์ทโฟน คือ มันต้องแก้ที่ต้นเหตุที่ว่าเราต้องเห็นความสำคัญของการมีชีวิตที่ไม่ก้มหน้า ต้องเห็นความสำคัญตรงนั้นก่อน เห็นความสำคัญของการพูดคุยกับคน แบบเห็นหน้า มองหน้า หรือเห็นความสำคัญของการเดินไปไหนมาไหนโดยที่หน้าไม่ก้ม  ทีนี้ถามว่าเราจะเห็นความสำคัญได้อย่างไร  เราต้องเริ่มจากการปล่อยมือถือที่เราเล่นอยู่ลง แล้วลองปฏิสัมพันธ์กับคนอื่นดูสิ คือเริ่มลดสิ่งเหล่านี้ เราอาจจะเห็นแง่มุมที่เราละเลยมันไป ต้องแก้ที่ตัวเอง ว่าง่ายๆ เถอะ

สิ่งที่ทำให้เกิดสังคมก้มหน้า จะมีข้อดีข้อเสียอย่างไรต่อเยาวชน

     ความสะดวกสบายที่เกิดขึ้น ความรวดเร็ว ถ้าเกิดประโยชน์ก็อาจจะทำให้โลกมันไร้พรมแดน ทำให้เรามีหูตากว้างไกลมากขึ้น แต่โทษของมัน คือ ทำให้เราละเลยการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่มีมัน มำให้เราละเลยการพูดคุยกับคนปกติธรรมดาโดยที่ไม่ต้องใช้สมาร์ทโฟน

     ผลเสียจะมากกว่าผลดี เพราะว่าเราใช้มันจนกระทั่งเราไม่รู้ว่ามันมีผลดีอะไร นี่คือสิ่งที่น่ากลัว จนกลายเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ปุถุชนธรรมดา จนลืมไปแล้วว่าการที่เราจะมีสิ่งพวกนี้ เราต้องมีเงินที่จะซื้อมัน

สังคมก้มหน้ามีผลกระทบต่อชีวิตหรือไม่

     มันทำให้เราไม่สนิทกันเหมือนเมื่อก่อน กลายเป็นว่าเราห่างเหินกัน อาจจะพูดคุยกันปกติ เป็นเพื่อนกันปกติ  แต่บางครั้งมันทำให้เราอยากจะพูดคุยอะไรแบบเห็นหน้าค่าตา กลายเป็นว่าเค้าให้ค่ากับมือถือมากกว่า ทำให้เราห่างเหินกัน


ที่มา :http://tassinee.blogspot.com/ 

'สังคมก้มหน้า' แนะปรับพฤติกรรมก่อนสาย

สิ่งสำคัญ 2 ประการที่พ่อแม่ควรคำนึงถึง
    ข้อที่ 1 การที่เด็กเล่นอุปกรณ์สื่อสารเพราะพ่อแม่ซื้อให้ อาจเป็นความจำเป็นบางอย่างที่ต้องซื้อให้ เช่น เพื่อใช้ติดต่อสื่อสารกัน ซึ่งการเลือกซื้อโทรศัพท์ให้ลูกไม่จำเป็นต้องเป็นรุ่นราคาแพง หรือไม่ได้อยู่ที่กระเป๋าเงินของพ่อแม่ แต่อยู่ที่ว่าเราจะฝึกลูกอย่างไร ซึ่งมีการแนะนำว่าให้เด็กเห็นจากด้านที่เป็นประโยชน์ก่อนเสมอว่าใช้เพื่อการสื่อสารกันก่อน เช่น เพื่อนัดเจอกัน และการเล่นเกมในเครื่องจริง ๆ แล้วมีกลุ่มเกมที่เป็นประโยชน์ต่อเด็ก เราเองควรมีส่วนร่วมกับลูกด้วย ซึ่งจะทำให้ลูกเห็นว่าพ่อแม่ไม่ได้เข้าไปห้ามอย่างเด็ดขาด เพราะมีทั้งส่วนที่ส่งเสริมถ้าลูกใช้มันเพื่อการเรียนรู้อย่างพอเหมาะพอดี ก็จะไม่ตึงมากเกินไป ไม่ใช่ปล่อยปละละเลยไม่ทำอะไรจนกระทั่งมีปัญหาพ่อแม่ลุกขึ้นมาอาละวาดซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อย แต่ไม่เป็นการแก้ปัญหา
     ข้อที่ 2 บางทีเด็กก็เพลินมากเกินไปซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นได้ทั้งนั้น เช่น ติดงอมแงม พ่อแม่ต้องรีบเข้าไปดูแล แต่อย่าดุด่าจนทะเลาะกัน ไม่เช่นนั้นจะทำให้เด็กหลบไปแอบเล่นไม่ให้เห็น แต่ขอให้ตั้งต้นด้วยการคุยกันหรือกำกับ เพราะเด็กก็มีบางทีที่จะเผลอไปบ้าง ถ้าเราเข้าไปด้วยท่าทีที่บอกให้ลูกรู้ว่ามันเริ่มกระทบกับเรื่องอื่นแล้ว พ่อแม่จึงต้องเข้ามาเตือนถ้าลูกกลับไปดูแลตัวเองได้ดีพ่อแม่ก็จะไม่เข้าไปวุ่นวาย ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งสำคัญจะทำให้เด็กไม่ข้ามไปจุดที่เราเรียกว่าเป็นการติด อาจจะเล่นเยอะไปบ้างเป็นบางช่วง แต่เด็กก็จะสามารถกลับมาปฏิบัติตัวเองได้ดีแบบสบาย ๆ เล่นก็ได้ไม่เล่นก็ได้ ดังนั้นอย่าปล่อยไปจนถึงขั้นติด เพราะไม่เช่นนั้นจะทำให้อารมณ์เด็กเริ่มมีปัญหาและจะพูดคุยกันยากขึ้น

ที่มา : http://www.thaihealth.or.th/

‘สังคมก้มหน้า’ ดีกว่า ‘ไทยเฉย’…

        การมีส่วนร่วมเป็นไปด้วยความกระตือรือร้น ตัวเองสนใจความเป็นไปของบ้านเมือง หรือรับงานกลุ่มผลประโยชน์มาขับเคลื่อนเพื่อปกป้องพวกพ้อง เจ้านายหรือไม่นั้น ก็สุดแล้วแต่ ตัวเองรู้อยู่แก่ใจ ประชาธิปไตยน้ำเน่าแบบไทยๆ ย่อมมีความหลากหลายมิติเสมอ
       
       พวกที่สนใจเหตุการณ์บ้านเมืองส่วนหนึ่งมาจาก “สังคมก้มหน้า” ซึ่งมักถูกมองด้วยสายตาตำหนิ โดนพูดถากถางว่าสนใจเฉพาะการใช้สื่อโซเชียลมีเดีย ไม่ชอบพูดคุยกับใคร สมาชิกครอบครัวเดียวกัน นั่งเปิบในร้านอาหารก็ไม่พูดจากัน เพ่งมองแต่โทรศัพท์มือถือ
       
       กางไอแพด แท็บเล็ต เสพข้อความข่าวสาร สื่อสาร เล่นเน็ต เล่นไลน์ อย่างจริงจัง! ร้านกาแฟ เครื่องดื่ม หลายแห่งยินดีต้อนรับสมาชิกสังคมก้มหน้า นั่งนานๆ ไม่คุยส่งเสียงดังรบกวนผู้อื่น เป็นการแสวงหาความรู้นอกสถาบันศึกษา แต่ละคนมีห้องสมุดเคลื่อนที่
       
       “สังคมก้มหน้า” มีมิติเชิงบวก นอกจากการอ่าน ยังกระตุ้นในคนสนใจในการเขียนข้อความ บทความ การแสดงความคิดเห็นมากกว่าที่เป็นอยู่ การเขียนถือว่าเป็นสุดยอดของการแสดงออก นอกจากการพูด หรือการสื่อสารด้วยวิธีอื่นๆ ต้องใช้เวลาคิด เรียบเรียง
       
       การอ่าน ไม่ว่าจะอ่านจากสื่ออะไร ถือว่าเป็นบ่มเพาะนิสัยรักการอ่าน สื่อดิจิตอลฉับไวได้เปลี่ยนพฤติกรรมของคนไทยอย่างมาก แปรสภาพของไทยเฉยให้เป็นกลุ่มที่มีปฏิกิริยาต่อสภาพสังคม รู้สึกเดือดร้อนเมื่อรู้ว่าสิทธิ ชีวิตความเป็นอยู่ของตัวเองถูกละเมิด
       
       การนั่งก้มหน้าอ่านข้อมูลในโทรศัพท์มือถือ ย่อมดีกว่านั่งเหม่อลอย ไร้กิจกรรม พวกก้มหน้าเล่มเกมอย่างเดียวอาจด้อยค่าในการใช้เวลา แต่ได้เป็นการฝึกสมองให้คิดเร็ว มีผลร้ายแน่ถ้าหากเล่นอย่างหมกมุ่น ข้ามวันข้ามคืนไม่พักผ่อนหลับนอน จนตายคาหน้าจอ
       
       พฤติกรรมรักการอ่านมิติใหม่เป็นภาพที่เราเห็นแล้วควรดีใจ คนในสังคมก้มหน้า ใช้เวลาส่วนใหญ่ เวลาว่างเพื่อเสพข่าวสาร ข้อมูล รับรู้ความเป็นไปต่างๆ ในโลก มีความทันสมัย ทันเหตุการณ์ รู้เรื่องราวต่างๆ มากกว่าคนทั่วไปที่ไร้อุปกรณ์เข้าถึงสื่อยุคดิจิตอล
       
       นอกจากรับรู้ข้อมูลยังโต้ตอบ สื่อสาร แสดงความเห็นต่างๆ ด้วยความรวดเร็ว!
       
       สังคมไทยเคยถูกประเมินด้วยถ้อยคำเหยียดหยามว่า “อ่านหนังสือปีละ 8 บรรทัด” เป็นสังคมไม่รักการอ่าน ประชากรมีเกือบ 70 ล้านคน แต่หนังสือพิมพ์รายวันมีจำหน่ายวันละไม่ถึง 2 ล้านฉบับ ไม่นับจากเหลือจำหน่าย อ่านน้อยกว่าประชากรในประเทศอื่นๆ
       
       ก่อนยุคสื่อดิจิตอลผ่านโทรศัพท์มือถือ ในสังคมตะวันตก ญี่ปุ่น ประชาชนจะอ่านหนังสือพิมพ์ตามป้ายรถบัส นั่งรถขนส่งมวลชน สถานีรถไฟ ในสวนสาธารณะ ขณะที่ภาพเช่นนั้นไม่ปรากฏในสังคมบ้านเรา ห้องสมุด ร้านหนังสือ หาได้ยากยิ่งกว่าแหล่งค้ากาม
       
       ทุกวันนี้ คนไทยมีโทรศัพท์มือถือ มีอินเทอร์เน็ต เล่นไลน์ เฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์ และสื่อโซเชียลมีเดียอื่นๆ รับรู้ข้อมูลข่าวสาร 24 ชั่วโมง บางครั้งเป็นการหมกมุ่น ทำให้เสียการงาน แต่คนทั่วไปมีความรับผิดชอบตัวเอง จัดสรรเวลาได้ เกิดความตื่นตัว คนไทยรักการอ่าน
       
       ในร้านอาหารของชาวสังคมก้มหน้า เสพข้อมูล สื่อสารด้วยข้อความเป็นปฏิสัมพันธ์ ย่อมดีกว่า น่าพิสมัยกว่าในร้านอาหารซึ่งมีแต่วงเหล้า คนเสพน้ำเมาคุยกันเอะอะเสียงดังไม่เกรงใจใคร พร้อมจะมีเรื่องกัน ถ้าสายตาประสานกันจนเกิดอาการเขม่นอยากได้เลือด

       


       การอ่านจากโทรศัพท์มือถือ หรือแท็บเล็ต ฯลฯ ถือว่าเป็นพฤติกรรมที่ดีกว่าไม่อ่านอะไรเลย อุปกรณ์ดิจิตอลเหล่านี้ไม่ต่างจากหนังสือพิมพ์ หรือสื่อสิ่งพิมพ์ แต่ดีกว่า รวดเร็วกว่ามีความหลากหลาย เหนือกว่าห้องสมุดด้วยซ้ำ เพราะสามารถค้นหาข้อมูลได้เต็มที่
       
       การเข้าถึง รับรู้ข้อมูลเหตุการณ์ต่างๆ ด้วยความรวดเร็วทำให้คนฉลาดขึ้น มีความรอบรู้มากกว่าเดิม กระตุ้นให้สนใจสภาพสังคมการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ลดจำนวนประชากร “ไทยเฉย” เมื่อตัวเองต้องรับรู้เรื่องราวความเป็นไปต่างๆ โดยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
       
       การชุมนุมทางการเมือง การส่งข้อความเรื่องสำคัญให้การรับรู้ของสังคมเป็นไปด้วยความรวดเร็ว กว้างขวาง เป็นช่องทางสำหรับป้องกันเหตุร้ายต่างๆ การรณรงค์ต่อต้านพฤติกรรมชั่วร้ายของนักการเมือง หรือคนกลุ่มอื่นๆ ในสังคม ถือว่าเป็นการสร้างประโยชน์
       
       ไม่มีใครโดนต้มง่ายๆ หรือถูกหลอกง่ายๆ ถ้าใส่ใจ แลกเปลี่ยนข้อมูลความรู้ต่างๆ กับคนในสังคมก้มหน้า แต่ต้องมีความรอบคอบเพียงพอ เพราะเหยื่อของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ ยังมีอยู่ ตราบใดที่สังคมยังมีความหลากหลายของคนฉลาด โง่เกิดมาในแต่ละนาที
       
       สังคมก้มหน้าเพื่ออ่านข้อความ สื่อสาร ย่อมดีกว่าพวกที่ต้องก้มหน้าหลบสังคมด้วยความอัปยศอดสูเพราะพฤติกรรมชั่วร้ายเลวทราม ถูกประจานด้วยโซเชียลมีเดีย ดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน นับเป็นยุคที่สังคมรับรู้ความเป็นไปต่างๆ ยากในการซ่อนเร้นความชั่ว
       
       คนในสังคมก้มหน้าพร้อมเสมอที่จะเงยหน้าลุกขึ้นยืน จ้องตาพวกประสงค์ร้ายต่อผลประโยชน์ของสังคม และมีความเชื่อมโยงโดยข้อความ การรับรู้ โดยไม่จำเป็นต้องรู้จักกันมาก่อน เพียงแต่มีทัศนคติ แนวความคิด จิตวิญญาณในการรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกัน
       
       การชุมนุมทางการเมือง หรือการเรียกร้องของกลุ่มต่างๆ มีพลัง ความฉับไว ด้วยเหตุนี้ รัฐบาลแนวเผด็จการ ทรราช จึงกระสันอยากควบคุมระบบการสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต และใครก็ตามที่มุ่งแต่เรื่องนี้ถูกมองได้ว่าเป็นกลุ่มวางแผนชั่วร้ายต่อผลประโยชน์ของชาติ
       
       สังคมก้มหน้าไม่รบกวนใคร การรับรู้ข้อมูลข่าวสารถูกต้องเป็นการใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ในระยะยาวจะละลายพฤติกรรมของคนในสังคมไทยเฉยโดยความจำเป็นบังคับ 


ที่มา : http://www.manager.co.th/ 

เตือนสังคมก้มหน้า 'โรคนิ้วล็อก' อันตรายใกล้ตัว น่ากลัวกว่าที่คิ

            เพราะความสะดวกจากการใช้สมาร์ทโฟน-แท็บเล็ตในปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่ใช้เป็นเครื่องมือติดต่อสื่อสาร ทำงาน และให้ความบันเทิง แพทย์เตือนพิมพ์เยอะส่งผลกระทบต่อเส้นเอ็น หากอาการหนักอาจถึงขั้นต้องผ่าตัดรักษา...


              เวลานี้...หันไปทางไหนก็เจอแต่คนก้มหน้าก้มตาสนใจหน้าจอส่วนบุคคล ทั้งสมาร์ทโฟน ทั้งแท็บเล็ตยอดดวงใจ ระดมกด ระดมจิ้ม ฝึกพลังนิ้วมือกันแบบไม่มีใครยอม (สนใจ) ใคร ทั้งแชต ท่องโลกโซเชียลเน็ตเวิร์ก และเล่นเกม ซึ่งเชื่อว่าคนส่วนใหญ่น่าจะเคยได้ยินคำเตือนเรื่องนิ้วล็อกกันมาบ้างแล้ว และแม้ว่ารู้ทั้งรู้ว่าการจดๆ จิ้มๆ สไลด์หน้าจอไปมาจะสุ่มเสี่ยงโรค แต่ทุกคนก็ยังเต็มใจทำแบบไม่แคร์! ต่อโรคภัย ที่กำลังรอรุมทึ้งร่างกาย 


ปวดโคนนิ้ว เหยียดนิ้วไม่สุด ต้องรีบพบแพทย์

สำหรับอาการที่กลุ่มคนเหล่านี้จะมาพบแพทย์ คือ ปวดบริเวณโคนนิ้วด้านในฝ่ามือ มีอาการนิ้วสะดุดหรืองอเหยียดนิ้วได้ไม่สุด มีอาการปวดช่วงเช้าและจะดีขึ้นเมื่อขยับมือสักพัก ในการรักษาโรคดังกล่าวแพทย์ต้องประเมินก่อนว่าผู้ป่วยอยู่ในระยะใดของอาการ แค่การอักเสบ หรือถึงขั้นเป็นโรคนิ้วล็อกแล้ว


หากเป็นมากต้องผ่าตัด! สถานเดียว
แพทย์จะเริ่มต้นการรักษาด้วยการให้หยุดพักการใช้งานนิ้วมือ ร่วมกับการทานยาต้านการอักเสบของเส้นเอ็นหรือยาแก้ปวด และการกายภาพเอ็นข้อนิ้ว โดยใช้หนังยางหนาใส่นิ้วและถ่างออก โดยทำอย่างน้อยวันละ 30-60 รอบ หากอาการยังไม่ดีขึ้น อาจต้องฉีดยาลดการอักเสบสเตียรอยด์ หรือต้องเข้ารับการผ่าตัดขยายปลอกหุ้มเส้นเอ็น เพื่อทำให้เอ็นเคลื่อนไหวได้ดีขึ้น ทั้งนี้ ผู้ป่วยจะต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด และพยายามหลีกเลี่ยงการเล่นสมาร์ทโฟนที่บ่อยเกินไป


              รู้แบบนี้แล้วก็เงยหน้าสู่สังคมแท้จริงกันให้มากขึ้น เพลาการกดการจิ้มสารพัดจอในมือลงไปหน่อย ไม่ใช่ประโยชน์ของใคร สุขภาพของคุณเอง...!





   ที่มา : http://robertpeeet.blogspot.com/